ข้อมูลเกี่ยวกับ EzTNC และ EzTrak เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนเดิม (ไม่ใช่ผม) ซึ่งเดิมข้อมูลมีอยู่ที่เวบไซต์ http://voip.comze.com/ez/ และที่ http://aprsth.w.pw/eztnc/ แต่ตอนนี้ข้อมูลได้หายไปจาก www แล้ว. ข้อมูลที่จะเห็นต่อไปนี้ เป็นข้อมูลที่ได้บันทึกเก็บเอาไว้เพื่อไม่ให้สูญหาย และไว้สำหรับการศึกษาค้นคว้าในภายภาคหน้า. ขอขอบคุณผู้เขียนเวบและภาพประกอบทุกๆ ท่านมา ณ ที่นี้ด้วย


EzTRAK V2



EzTRAK V2



EzTRAK V2x



รายการอุปกรณ์ และตำแหน่งการวาง




การประกอบ

- ใส่ D1,D2 โดยหันขั้วให้ถูกต้องตามรูปบนแผ่นวงจร พยายามกดให้แนบกับแผ่นวงจรให้มากที่สุด
- ใส่ตัวต้านทานค่าต่างๆ ตามตำแหน่งให้ถูกต้อง ยกเว้น RP ให้ใส่เมื่อใช้กับเครื่องมือถือของ ICOMN และ YEASU
หรือต่อไว้ที่สายต่อภายนอก ในกรณีที่ต้องการสับเปลี่ยนเครื่องใช้งานไปมาระหว่างเครื่องที่ต้องการ RP และเครื่องที่ไม่ต้องการ
- ดัดขาของ 7805 ให้ตรงตามตำแหน่ง บนแผ่นวงจร แล้วบัดกรีโดยใช้ความร้อนสูงเล็กน้อย หรือจี้ให้นานเล็กน้อย โดย
สังเกตุการเกาะของตะกั่วที่ขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ขากลางอาจจะต้องใช้ความร้อนมากกว่าปกติ และควรบัดกรีบริเวณแถบ
ระบายความร้อนหรือยึดด้วยสกรูให้แนบสนิทกับแผ่นวงจรพิมพ์ เพื่อการระบายความร้อนที่ดี
- ใส่ U1 โดยการบัดกรีขาทแยงมุมสองขาเพื่อยึดไอซีให้พออยู่ก่อน และดูให้แน่ใจว่าขาตรงตำแหน่งดีแล้ว จึงบัดกรีขาที่เหลือ
ทั้งหมด ระวังอย่าให้มีตะกั่วลัดวงจรที่ขาไอซี
- ใส่ C1, C2 - C8, VR1 ตามด้วย Q1 โดยหันทิศทางให้ถูกต้องตามรูปบนแผ่นวงจร
- ใส่ DB9, และสวิทช์ TX
- สำหรับ LED 3 ตัว PTT, CD ,GPS ให้ติดตั้งให้ได้ระดับความสูงเหมาะสมกับขนาดและลักษณะของกล่องที่ใช้

การต่อสาย และใช้งาน

- การต่อสายเข้าวิทยุรุ่นต่างๆ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ การต่อสายเข้าวิทยุ
- ก่อนจ่ายไฟเข้าวงจร ให้ตรวจสอบการวางอุปกรณ์ และจุดบัดกรีทั้งหมดให้เรียบร้อยอีกรอบหนึ่งก่อน
- ไฟเลี้ยงวงจรที่ต่อผ่านเข้รามาทางขั้วต่อ DB9 ควรมีระดับแรีงดันไม่น้อยกว่า 6 โวลท์ และไม่มากกว่า 15 โวลท์ และ
กระแสได้ไม่น้อยกว่า 5mA บวกกับกระแสที่ GPS ต้องการ ถ้าต่อไฟเลี้ยงเข้าที่ขั้ว P2 โดยตรงให้ระวังอย่าต่อกลับขั้ว
- เมื่อต่อสายและป้อนไฟให้เครื่องแล้ว โปรแกรมจะใช้เวลาสั้นๆ ตรวจสอบการขอเปลี่ยน Firmware จากภายนอก แล้วไฟ
GPS จะติดสว่างค้าง เมื่อโปรแกรมเริ่มทำงาน
- เมื่อสามารถอ่านข้อมูลจาก GPS ได้ถูกต้อง ไฟ GPS จะกระพริบในลักษณะดับนานสลับกับติดสว่างสั้น และเมื่อได้
ข้อมูลตำแหน่งจาก GPS แล้วไฟ GPS จะกระพริบในลักษณะติดสว่างนานสลับกับการดับสั้นๆ
- ไฟ PTT จะติดสว่างเมื่อการส่งข้อมูลออกอากาศ ตามเวลาที่ตั้งไว้ หรือเมื่อกดสวิทช์ส่งข้อมูล
- การกดปุ่ม Tx จะเป็นการส่งข้อมูลทันที ซึ่งจะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อ GPS สามารถหาตำแหน่งได้แล้ว โดยสังเกตได้
จากการกระพริบของไฟ GPS ที่จะติดสว่างนาน สลับกับดับสั้นๆ

การทดสอบการทำงาน และการส่งสัญญาณ

- ให้กดปุ่ม Tx ค้างไว้ขณะที่เปิดเครื่อง EzTRAK จะเข้าสู่โหมดการทดสอบ โดยไฟ CD จะกระพริบสั้นๆ 2 ครั้ง
- การกดปุ่ม Tx แต่ละครั้งจะเป็นการส่งสัญญาณออกอากาศวนตามลำดับดังนี้

ส่งความถี่ 1200 Hz (ไฟ PTT และ GPS ติด) ---> ส่งความถี่ 2200 Hz (ไฟ PTT และ CD ติด) ---> ส่งความถี่ 1200Hz/2200Hz สลับกัน(ไฟติดทั้งหมด ---> หยุดส่งสัญญาณ(ไฟดับ)

- ถ้าไม่มีสัญญาณออกอากาศ หรือไม่มีการกดคีย์ ให้ตรวจสอบการลงอุปกรณ์ การบัดกรี และการเดินสายใหม่ทั้งหมด

ตำแหน่งสัญญาณที่ขั้วต่อ DB9



ข้อแตกต่าง V1 - V2

- CPU ทำงานเร็วขึ้นอีก 60 %
- สามารถอัพเฟิร์มแวร์ผ่านทางคอมพอร์ทได้
- สามารถวัดแรงดันไฟเลี้ยง และอุณหภูมิรอบข้างได้ (V2x ต่อวัดอุณหภูมิ ได้สองตัว)
- เพิ่มพอร์ท รองรับการต่อใช้งานภายนอกจากเดิม 2 ขาเป็น 3 ขา (เช่นต่อ sensor, switch, ๆลๆ)
- วงจรใหม่ใช้ชิ้นส่วนน้อยลงราว 20% ประกอบง่ายขึ้น
- กินไฟน้อยลง สามารถใช้สาย usb2rs232 ได้โดยตรง (อาจจะไม่ได้ทุกรุ่น)
- ปรับแก้วงจรใหม่ ทำให้ไม่ต้องใช้ jumper เพื่อเลือกใช้ GPS รุ่น 3V หรือ 5V

คู่มือ EzTRAK V2


โหลดคู่มือ ได้ที่นี้ EZtrackV2_Manual.pdf
โหลดคู่มือ ได้ที่นี้ EZtrackV2x_Manual.pdf